คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม

เป็นผู้บริหารระดับสูงภาครัฐและ ภาคเอกชน มีคุณสมบัติดังนี้
– สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
– เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรมหาชน หรือ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่หรือ    พนักงานของหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ 9 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เฉพาะองค์การบริหารส่วนจังหวัด/เทศบาลนคร/เทศบาลเมือง) ในตำแหน่ง นายก หรือ ปลัด
– นายทหาร นายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ที่มีชั้นยศ พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือพันตำรวจเอก ขึ้นไป และดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารหน่วยงาน
– เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนชั้นสัญญาบัตร ที่มีชั้นยศ นายหมวดเอกขึ้นไป
– ผู้บริหารระดับสูงจากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ข้าราชการพลเรือน หรือ พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่ง อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี หรือผู้บริหารที่ได้รับการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัย
– เจ้าของ ผู้ประกอบกิจการ ทายาทผู้ประกอบกิจการ ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรเอกชน
– ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรสาธารณประโยชน์
– ผู้บริหารระดับสูงด้านสื่อสารมวลชน
– บุคคลที่คณะกรรมการหลักสูตรมีมติเห็นสมควร ให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยพิจารณา     คุณสมบัติว่าจะเป็นประโยชน์ต่อหลักสูตรและวงการศิลปกรรม
– ไม่เป็นผู้ต้องหาคดีความใดๆ และไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อร้ายแรงอันจะส่งผลกระทบต่อการศึกษาอบรม
– เป็นผู้ที่มีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์แข็งแรง มีความพร้อมในการเข้ารับการศึกษาอบรม

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาอบรม

– ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม จะต้องเข้ารับการปฐมนิเทศ หากไม่เข้ารับการปฐมนิเทศจะถือว่าสละสิทธิ์ในการเข้ารับการศึกษาอบรม
– ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม จะต้องมีเวลาในการเข้ารับการศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของการศึกษาอบรมตลอดหลักสูตร
– ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมจะต้องร่วมดำเนินการจัดกิจกรรมทางด้านสุนทรียศาสตร์และศิลป์เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสาธารณกุศล ทั้งในนามกลุ่มแต่ละกลุ่มและในนามรุ่นเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการหลักสูตรในการสำเร็จการศึกษา

วิธีการศึกษาอบรม

– บรรยายพิเศษ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ.- ศิลปินแห่งชาติ  เจ้าของพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะ นักสุนทรียศาสตร์ นักลงทุนงานศิลปะ กรรมการการจัดงานประกวดศิลปะจากหลายสถาบัน  ภัณฑารักษ์ หรือ Curator  นักสะสมงานศิลป์ หรือ Collector ระดับชาติ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญ  ศาสตร์และศิลป์แขนงต่างๆ เช่น วรรณกรรม นาฎกรรม ดนตรีกรรม คหกรรม เป็นต้น
– อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถกแถลงประเด็นสำคัญ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างผู้บริหารระดับสูง
– ศึกษาดูงานภายในประเทศ องค์กรด้านสุนทรียศาสตร์และศิลป์ผู้ประสบความสำเร็จ
– ศึกษาดูงานต่างประเทศ องค์กรด้านสุนทรียศาสตร์และศิลป์ระดับโลก

ค่าธรรมเนียมการศึกษาอบรม

ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมทั้งภาครัฐและเอกชน จะเสียค่าธรรมเนียมการศึกษาอบรม ตลอดหลักสูตรเป็น จำนวน 199,000.-บาท (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)  รวมค่าอาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารบรรยายตลอดหลักสูตร รวมทั้งค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าที่พักในการศึกษาดูงานภายในประเทศและต่างประเทศ(ทวีปเอเชีย)

สถานที่จัดการศึกษาอบรม

– การบรรยายตลอดหลักสูตร ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
– ศึกษาดูงานภายในประเทศ 2 ครั้ง (ต่างจังหวัด 1 ครั้ง,กรุงเทพฯและปริมณฑล 1 ครั้ง)
– ศึกษาดูงานต่างประเทศ :ทวีปเอเชีย 1 ครั้ง (รวมอยู่ในค่าธรรมเนียมการอบรม)
– ศึกษาดูงานต่างประเทศ :ทวีปยุโรปหรืออเมริกา 1 ครั้ง (เป็นภาคสมัครใจ โดยหลักสูตรเป็นผู้ดำเนินการและไม่รวมอยู่ในค่าธรรมเนียมการอบรม)

ระยะเวลาการศึกษาอบรม

เริ่มวันที่ 24 มิถุนายน – 21 ตุลาคม 2567 ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00-17.00 น.

** กำหนดการบรรยาย การศึกษาดูงานภายในประเทศและต่างประเทศ อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม และหลักสูตรขอสงวนสิทธิ์ในการดำเนินการจัดทริปศึกษาดูงานภายในประเทศและต่างประเทศทุกทริปรวมทั้งขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนเงินทุกกรณี